การตั้งเสาเอก ใช้อะไรบ้าง มีลำดับพิธีอย่างไร
สำหรับประกอบพิธีตั้งเสาเอก (เท่าที่พอหาได้ แต่ถ้าครบก็จะดี) ได้แก่
จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้าประสงค์)
จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด (กรณีนิมนต์พระมาประพรมน้ำมนต์ที่หลุมและเจริญชัยมงคลคาถา)
เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา (จัดย่อส่วนก็ได้ ดูพิธีวางศิลาฤกษ์)
สายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก
ผ้าสามสี ผ้าแพรสีแดง ผ้าห่มเสา ผ้าหัวเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน ขนาด 4×6 นิ้ว
แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น
เหรียญทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ
ทองคำเปลว 3 แผ่น
หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ
ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน
น้ำมนต์ 1 ขัน (พร้อมกำหญ้าคา 1 กำ)
ทรายเสก 1 ขัน
แป้งหอม
ไม้มงคล 9 ชนิด (ไม้ราชพฤกษ์, ไม้ขนุน, ไม้ชัยพฤกษ์, ไม้ทองหลาง, ไม้ไผ่สีสุก, ไม้ทรงบาดาล, ไม้สัก, ไม้พะยูง, ไม้กันเกรา)

ลำดับพิธีตั้งเสาเอก
สำหรับการทำพิธีตั้งเสาเอกนั้น ไม่จำเป็นต้องทำครบทุกขั้นตอน ประกอบด้วยลำดับพิธีต่าง ๆ ดังนี้
1 นำหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสามสีผูกติดกับเสาเหล็กที่จะใช้ในพิธีตั้งเสาเอก (ควรผูกให้เรียบร้อยก่อนถึงวันตั้งเสาเอก)
2 สำหรับบ้านไหนที่ไม่เชิญพราหมณ์หรือพระมาช่วยทำพิธี ก็สามารถให้ญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าของบ้านเป็นคนทำพิธีเองได้ (ผู้อยู่อาศัยทุกคนควรมาร่วมพิธีให้ครบ) โดยเริ่มแรกให้วางสายสิญจน์ตั้งแต่โต๊ะหมู่บูชาไปจนถึงเสาเอก
3 เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐาน และกราบพระ
เจ้าภาพจุดธูปที่โต๊ะสังเวยบูชาเทวดา ให้ช่วยคุ้มครอง
4 ตอกไม้มงคล 9 ชนิดลงไปในหลุมเสาเอก
5 วางแผ่นทอง แผ่นนาก แผ่นเงิน และเหรียญเงินลงไปในหลุม
6 นิมนต์พระสงฆ์มาพรมน้ำมนต์และโปรยทรายเสกลงที่หลุมเสาเอก พร้อมเจิมและปิดทองที่เสาเอกที่ผูกผ้าสามสี หน่อกล้วย และอ้อยเอาไว้
7 เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีถือสายสิญจน์และยกเสาเอกให้เรียบร้อย
8 เจ้าภาพโปรยข้าวตอกดอกหรือแป้งหอมลงที่หลุมเสาเอก
***ในกรณีที่เชิญพราหมณ์หรือพระมาช่วยทำพิธีอาจจะมีขั้นตอนที่แตกต่างออกไปบ้าง แต่ต้องจัดเตรียมตั้งโต๊ะและจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด รวมถึงอาหารสำหรับฉันท์เพลด้วย
ที่มา: ขอบคุณข้อมูลจาก kapook.com
ความเห็นถูกปิด