การบูชาพระพิราพ ครูสูงสุดทางด้านนาฏศิลป์
หากจะพูดถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งที่น่าเกรงขาม อีกทั้งยังนับถือกันมากในเหล่าสายอาชีพนาฏศิลป์หรือนักดนตรีไทย คงจะต้องรู้จักกับ พระพิราพ?ท่านเป็นทั้งเทพอสูร บรมครูแห่งการร่ายรำ เมื่อครั้งที่มีการไหว้ครูโขน ครูรำ ก็มักจะอัญเชิญพระพิราพเข้ามาในพิธีด้วยเสมอ เพื่อประทานให้หมดเคราะห์ ปัดเป่าอุปสรรค ในกิจการทางด้านการละคร?ลักษณะเป็นยักษ์ ศีรษะล้าน สวมกระบังหน้า วรกายสีม่วงแก่ พระหัตถ์หนึ่งถือหอก อีกพระหัตถ์หนึ่งถือกิ่งมะยม
ในพิธีไหว้ครู อาจารย์ผู้ประสาทวิชาทำการสวมเศียรของพิราพ ถือหอก ถือกิ่งมะยม ร่ายรำไปตามท่าแม่บท อันสร้างความขลังให้กับบรรยากาศภายในงาน?อีกทั้งยังห้ามไม่ให้ใครแตะต้องครูอาจารย์ในขณะร่ายรำ เนื่องจากตอนที่รำจะมีดวงจิตของพระพิราพเข้ามาแฝงในขณะร่ายรำ?หรือแม้จะมีไว้บูชาในบ้าน ท่านก็จะคอยปัดเป่าทุกข์ภัย ให้พรแด่ลูกหลานที่ศรัทธานับถือ
พระพิราพดั้งเดิมจากความเชื่อฮินดู?ยังมีกระแสความเชื่ออีกว่า พระพิราพคือภาคปางหนึ่งของพระศิวะมหาเทพแห่งการร่ายรำ แต่เป็นภาคดุร้ายที่เรียกกันว่าพระไภรวะ โดยการบูชามักจะบูชาเพื่อเป็นการขับไล่ภูตผีปีศาจที่ไม่ดี ช่วยให้ผู้บูชามีสุขภาพแข็งแรง?
สิ่งของที่ใช้ในการบูชาพระพิราพ
สามารถไหว้ได้ เช่น ดอกไม้ ผลไม้ พวงมาลัย หมากพลู กำยานหอม หรือแม้กระทั่งในงานไหว้ครูรำไทย ยังต้องไหว้ด้วยหมูนอนตอง ?
คาถาบูชาองค์พระพิราพ
อิมัง พุทธัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
ธัมมัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
สังฆัง องค์พระพิราพัง ขอเอหิจงมา
พุทโธ สิทธิฤทธิ ธัมโม สิทธิฤทธิ สังโฆ สิทธิฤทธิ
สุขะ สุขะ ไชยะ ไชยะ ลาภะ ลาภะ
สัพพะธัมมานัง ประสิทธิเม ประสิทธิเต
พุทโธ สวัสดีมีไชย ธัมโม สวัสดีมีไชย สังโฆ สวัสดีมีไชย
อิมัง ปทีปัง สุรังคันธัง อธิฏฐามิ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก horolive.com
ความเห็นถูกปิด