ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคา

112

ความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดสุริยุปราคา

 

ในอดีตคนไทยเชื่อว่าระหว่างเกิดจันทรุปราคา มียักษ์ชื่อราหูกำลังอมดวงจันทร์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเชื่อว่ากบกินเดือน จึงมีการส่งเสียงดังขับไล่ยักษ์ให้คายดวงจันทร์คืนออกมา ชาวจีนเชื่อว่ามังกรมาอมดวงจันทร์เอาไว้ คืนพระจันทร์แดง

เมื่อดวงจันทร์เข้าอยู่ในเงามืดทั้งหมด เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง แสงที่เหลือไปปรากฏบนดวงจันทร์ขณะนั้น คือแสงที่หักเหผ่านบรรยากาศบริเวณขอบของโลกไปตกบนดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐ หรือคล้ายสีทองแดงมัว ๆ

สุริยุปราคาเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น่ากลัวอย่างยิ่งสำหรับมนุษย์ในสมัยโบราณ โดยเฉพาะสุริยุปราคาเต็มดวงเพราะคนในสมัยนั้น ยังไม่เข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดสุริยุปราคาที่แท้จริง การได้เห็นท้องฟ้ามืดมิดไปชั่วขณะทั้งๆ ที่เมื่อครู่ท้องฟ้ายังสว่างอยู่ ต่างก็เกิดความเกรงกลัวคิดว่าเป็นการลงโทษจากพระเจ้าหรือเทพยดาเบื้องบน

การปฏิบัติที่แสดงความเคารพบูชาของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์นี้จึงเกิดขึ้น โยมีแนวความคิดและการปฏิบัติแตกต่างกันไปตังอย่างเช่น คนจีนในสมัยโบราณคิดว่า สุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาเกิดจากมังกรไล่เขมือบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ จึงต้องจุดประทัดและตีกลองไล่เพื่อให้มังกรคายดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ออกมา

ส่วนคนไทยในสมัยโบราณ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่าเกิด “คราส” หรือ “สุริยคราส” (คราส แปลว่า กิน) ก็มีความเชื่อที่เกิดจากเทพองค์หนึ่งชื่อ “ราหู” เกิดความโกรธที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ฟ้องร้องพระอิศวรว่า พระราหูกระทำผิดกฎของสวรรค์ คือแอบไปดื่มน้ำอมฤตที่ทำให้ชีวิตเป็นอมตะ พระอิศวรจึงลงโทษโดยตัดลำตัวราหูออกเป็น 2 ท่อน พระราหูจึงทำการแก้แค้นโดยการไล่ “อม” พระอาทิตย์และพระจันทร์

ดังนั้นเมื่อเกิดสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาครั้งใดผู้คนก็จะช่วยกันตีเกราะเคาะไม้ ตีปี๊บ หรือส่งเสียงดังๆ เพื่อขับไล่พระราหูให้ปล่อยดวงอาทิตย์และดวงจันทร์เสีย นอกจากนี้คนไทยในสมัยโบราณยังเชื่ออีกว่า สุริยุปราคานำความโชคไม่ดีหรือลางร้ายมาสู่โลกเช่นเดียวกับการมาของดาวหาง

ความเชื่อแบบนี้ดำเนินมาเป็นเวลานานนับร้อยๆ ปีจนกระทั่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการค้นคว้าและศึกษาถึงการเกิดปรากฏการณ์นี้ และได้อธิบายให้เห็นว่าสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติตามปรกติ และมนุษย์สามารถคำนวนได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเมื่อใด ที่ไหน และกินเวลานานเพียงใด

 

ขอบคุณบทความ : วิกิพีเดีย

ความเห็นถูกปิด