ความเชื่อเรื่องต้นหมากนวล
หมากนวล เป็นพรรณไม้ยืนต้นประเภทปาล์มมีทรงพุ่มขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตรการเจริญเป็นลำต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลำต้นตรงสูง ผิวลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ลำต้นเป็นข้อปล้องเห็นได้ชัด ใบเป็นใบรวม แตกออกจากทางใบเป็นรูปขนตก เรียงกันเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบลักษณะใบแคบยาว ขนาดใบมีความกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50 – 60 เซนติเมตรตัวใบมีสีเขียวเรียบเป็นมันทางใบยาวประมาณ 1-2 เมตรลักษณะโค้งเล็กน้อย
ส่วนโคนทางจะเป็นกาบหุ้มลำต้นมีสีเขียว อ่อนปนขาวนวลออกดอกเป็นช่อคล้ายจั่นหมากก้านดอกมีสีขาวนวลลักษณะของดอกมีขนาดเล็กรวมกันอยู่เป็นจำนวนมากมีสีขาว อมเหลือง ผลเล็กกลมรีมีสีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงสด ภายในผลมีเมล็ดอยู่เพียงเมล็ดเดียว
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นหมากนวลไว้ประจำบ้านจะทำให้มีความอ่อนน้อมความมีน้ำใจเพราะหมากนวลมีการแตก ใบที่สวยงานลักษณะที่มีความนิ่มนวลอ่อนไหวนอกจากนี้ลักษณะการแตกใบของหมากนวลยังมีลักษณะที่โดดเด่นสง่านวลชวน มอง
นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบหมากนวลไว้ว่าเป็นชื่อหมากชนิดหนึ่งที่ใช้รับประทานในสมัจโบราณคือหมากสงให้ในพิธี ต้อนรับแขกที่ไปมาหาสู่กัน ดังนั้นจึงแสดงถึงการมีนิสัยใจคอที่ดี มีน้ำใจงามเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นหมากนวลไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ที่ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
ข้อมูลโดย Maipradabonline
ความเห็นถูกปิด