คาถาบูชาหลวงปู่สรวง ไว้ป้องกันภัย มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

128

คาถาบูชาหลวงปู่สรวง ไว้ป้องกันภัย มีเงินใช้ไม่ขาดมือ

หลวงปู่สรวง เป็นพระภิกษุชาวกัมพูชา เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ศิษยานุศิษย์ชาวไทยและชาวกัมพูชา หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ละสังขารเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 สรีระสังขารตั้งอยู่บนมณฑปปราสาทหลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

คาถาหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน

คำนมัสการบูชาตั้งจิตอธิษฐานขอพร

นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (กล่าว 3 จบ)

กล่าวคำนมัสการบูชาตั้งจิตอธิษฐานขอพร นะโม 3 จบก่อนแล้วว่าตามนี้

นะโม โพธิสัตว์โต มหาคุโณ มหิทธิโก มหาลาโภ อะหังปูเชมิ สิทธิลาโภ นิรันตะรัง

ตั้งจิตอธิษฐานขอพรหลวงปู่สรวง

พุทธัง ประสิทธิ ธัมมัง ประสิทธิ สังฆัง ประสิทธิ
อริยะองค์สรวง สัมปันโน อิติปิโส นะโมพุทธายะ
อิสะวาสุติ มหาบันดาล สัจจัง ประสิทธิเม สาธุ สาธุ สาธุ

คาถาหลวงปู่สรวง

หลวงปู่สรวง ออยเตียสรูล ออยเพิ่มพูน บายตึ๊กเจีย (กล่าว 3 จบ)

อธิษฐานจิต ขอพร บนบาน จุดธูป 9 ดอก หรือไหว้สักการะได้ทุกวัน เช้า-ก่อนนอน ขอเรื่องโชคลาภ เงินทอง การงานธุรกิจ ให้ราบรื่นรุ่งเรืองก้าวหน้า

ประวัติหลวงปู่สรวง

หลวงปู่สรวง เกิดเมื่อใดและอายุเท่าใดนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด เพียงแต่รับรู้กันว่าเป็นชาวเขมรกัมพูชา ซึ่งเข้ามาในเมืองไทยนานแล้ว และมรณภาพเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 มีผู้ยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวงตั้งแต่ยังเด็กซึ่งในจำนวนนั้นมีพระเถระสำคัญอยู่หลายท่านเช่น หลวงพ่อสร้อย วัดเลียบราษฏ์บำรุง หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จังหวัดสุรินทร์ หลวงปู่โป๊ะ วัดบ้านบิง ต่างยืนยันว่าเคยพบเห็นหลวงปู่สรวงตั้งแต่ตัวเองยังเด็ก นอกจากนั้นยังได้รับการเล่าขานจากคนแก่เฒ่าที่อยู่ชายป่าบ้านตะเคียนราม และพระสงฆ์ในวัดตะเคียนราม อำเภอภูสิงห์ บริเวณตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ และหมู่บ้านต่างๆตามแนวชายแดนไทย – กัมพูชา ซึ่งเป็นผู้ที่เคยพบเห็นหลวงปู่สรวงปัจจุบันมีอายุ 80 ปีขึ้นไป ต่างบอกว่าเคยเห็นท่านตั้งแต่ตัวเองยังเป็นเด็ก 7 – 8 ขวบ หลวงปู่ท่านก็มีสภาพแก่ชราแบบนี้มานานแล้วจากคำบอกเล่าของรุ่นปู่รุ่นย่าของผู้บอกเล่า จนถึงวันที่ท่านละสังขารก็มีสภาพร่างกายเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย

หลวงปู่สรวงเป็นพระที่มักน้อย สันโดษ สมถะ มีอุเบกขาสูง หลวงปู่สรวงจะจําวัดอยู่ตามกระท่อมเถียงนาของชาวบ้าน มีกระดานไม้ปูแค่พอนอนได้ ทุกแห่งที่หลวงปู่จําวัดจะมีเสาไม้สูงปักอยู่ มีเชือกขาวซึ่งระหว่างกระท่อมเสาไม้หรือต้นไม้ข้างเคียงจะมีว่าวขนาดใหญ่ ที่บุด้วยจีวรหรือกระดาษแขวนไว้เป็นสัญลักษณ์ ที่ขาดไม่ได้คือจะต้องให้ลูกศิษย์ก่อกองไฟไว้เสมอ บางครั้งลูกศิษย์ เอาสิ่งของมาถวายท่านก็มักจะโยนเข้ากองไฟ ชาวบ้านในสมัยนั้นเรียกขานท่านว่า “ลูกเอ็อวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระ ดาบสที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำตามป่าเขา) เรื่องราวของหลวงปู่สรวง เต็มไปด้วยเรื่องราวปาฏิหารย์และความลี้ลับ เหนือโลก เกินกว่าที่ผู้คนส่วนใหญ่จะรับรู้และเข้าใจ

หลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน มรณภาพเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2543 ณ กระท่อมบ้านรุน อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์

ความเห็นถูกปิด