ซ่อนกลิ่นซ่อนชู้ กลิ่นหอมคู่งานศพไทยมาแต่โบราณ
ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ล้มลุกหลายฤดู ขึ้นเป็นกอเล็กๆ มีหัวใต้ดิน ใบสีเขียวนวลหนาและเรียวยาว รูปแถบปลายแหลม เมื่อออกดอกจะแทงช่อรวมเป็นก้านกลมตั้งตรงขึ้นกลางกอ ยาว ๖๐-๙๐ ซม. ดอกเป็นช่อ ๒-๓ ดอก เรียงสลับตามแกนช่อรวม ดอกตูมเป็นสีขาวอมชมพูเรื่อๆ ดอกบานสีขาว มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ทยอยบานจากโคนไปหา ปลายช่อ ซึ่งกว่าจะบานหมดทั้งช่อจะใช้เวลา ๕-๗ วัน ดอกจะเริ่มบาน และมีกลิ่นหอมตั้งแต่ตอนเย็นเรื่อยไปตลอดทั้งคืน โดยเฉพาะกลางคืนยิ่งหอมมาก การที่ดอกมีกลิ่นหอม เฉพาะตอนกลางคืน ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าชื่อซ่อนกลิ่นนั้น มาจากการที่ซ่อนกลิ่นไม่มีกลิ่นหอมใน เวลากลางวันนั่นเอง
ชวลิต ดาบแก้ว เขียนไว้ในหนังสือ ดอกไม้ในวรรณคดี ว่าซ่อนกลิ่นชนิดดอกซ้อน เรียกว่า ซ่อนชู้ ส่วนชนิดดอกชั้นเดียวเรียกว่า ซ่อนกลิ่น แต่ในเอกสารอ้างอิงอื่นๆ ไม่มีเล่มใด ระบุถึงเลย ในวรรณ คดีไทยกล่าวถึงซ่อนกลิ่นและซ่อนชู้ควบคู่กันไปเสมอ และมักใช้ในเนื้อความเกี่ยวกับความรักที่ไม่ เปิดเผยดังที่สุนทรภู่กล่าวไว้ใน นิราศพระประธม ซ่อนกลิ่นเป็นไม้พื้นเมืองของเม็กซิโก มีปลูกในไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือก่อนหน้านั้นเชื่อ กันว่าชาวจีนหรือชายฝรั่งเศสเป็นผู้นำเข้ามา
คนไทยสมัยก่อนใช้ดอกซ่อนกลิ่นทั้งช่อบูชาสิ่งศักดิ์ สิทธิ์ในโอกาสต่างๆ ตามแบบคนจีน ต่อมาอาจเป็นเพราะใช้กันเป็นประจำในงานศพ ทำให้เกิดธรรมเนียมความ เชื่อว่า เป็นดอกไม้ที่ไม่เป็นมงคล ไม่ควรนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ
ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/
ความเห็นถูกปิด