ตำนานช้างเอราวัณ ช้างสามเศียรพาหนะทรงของพระอินทร์ ตอนที่ 2

176

ตำนานช้างเอราวัณ ช้างสามเศียรพาหนะทรงของพระอินทร์ ตอนที่ 2

เมื่อพระอินทร์ไม่สามารถรบชนะได้ จึงไปขอความช่วยเหลือจากพระศิวะและพระพรหม แต่พระศิวะและพระพรหมไม่สามารถช่วยได้ ด้วยถือว่าพรอันใดได้ประทานให้ใครไปแล้วก็ให้ไปเลย พระอินทร์จึงเหลือที่พึงสุดท้ายคือ พระนารายณ์หรือพระวิษณุ ให้ช่วย ซึ่งพระนารายณ์ก็แนะนำให้ไปทำพิธีกวนเกษียรสมุทร (เกษียรสมุทร แปลว่า ทะเลน้ำนม เป็นสถานที่พำนักของพระนารายณ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขา

พระสุเมรุ โดยชื่อทะเลน้ำนมนี้มาจากลักษณะพื้นน้ำที่เป็นสีเงินยวงราวกับน้ำนม เพราะได้รับรัศมีแห่งอัญมณีสีเงินยวงจากเขาพระสุเมรุมาทาบทับ แต่บ้างก็เชื่อว่า เป็นทะเลน้ำนมจริงๆ ตามที่ตั้งชื่อ) เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มจะได้มีพลังและไม่มีวันตาย แต่การจะกวนกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์ จึงออกบุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกยักษ์และชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร เมื่อได้น้ำอมฤตมา ก็แบ่งปันกันไป จากนั้นพระอินทร์ก็ให้พญานาควาสุกรีและนาคบริวาลมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก

เมื่อพิธีกวนเกษียรสมุทรเริ่มขึ้น ได้เทผสมโอสถสมุนไพรและสิ่งมงคลต่างๆลงใจกลางเกษียรสมุทร ซึ่งใช้แทนอ่างในการปรุงยา ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนทะเลน้ำนมที่อยู่ในไวกูณฑ์สวรรค์ และให้พญานาคและบริวาลแทนเชือกชัก โดยพระอินทร์คิดไว้อยู่แล้วว่าถ้าชักนาคเมื่อไรนาคจะต้องเจ็บปวดมากและต้องพ้นพิษออกมาแน่ๆ พระอินทร์จึงให้ยักษ์อยู่ทางหัวของนาค และให้เทพอยู่ทางหาง เมื่อเริ่มกวนนาคก็พ้นไฟพิษมาโดนยักษ์ ต่างก็ทรมานทั้งยักษ์ทั้งนาค พิธีกรรมนี้ใช้เวลาเป็นพันๆ ปี กว่าจะได้น้ำอมฤต เมื่อพิธีกวนเกษียรสมุทร เพื่อกวนน้ำอมฤตเสร็จสิ้นลง จึงบังเกิดสรรพสิ่งวิเศษต่างๆ14 อย่างผุดออกมาพร้อมน้ำอมฤต ซึ่ง ช้างเอราวัณหรือช้างไอราวัต (Airavata) เป็นหนึ่งในสิบสี่ของวิเศษที่ผุดขึ้มา ซึ่งเป็นช้างเผือกสามเศียร และพระนารายณ์ประธานในพิธีกวนน้ำอมฤตนี้ ได้ประทานช้างเอราวัณหรือช้างไอราวัต ให้เป็นพาหนะของพระอินทร์

 

 

ที่มาของช้างเอราวัณ:เว็บไซต์จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความเห็นถูกปิด