ทำไมคนญี่ปุ่นถึงเป็นชนชาติเดียวที่สนใจการทายนิสัยจากกรุ๊ปเลือด
การทายนิสัยจากกรุ๊ปเลือดเริ่มมาจากไหน
ต้องบอกว่าการทายนิสัยจากกรุ๊ปเลือดมีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ศาสตราจารย์ ชิเกะยูกิ ยามาโอกะ จากภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเซโตคุ ได้ค้นพบกรุ๊ปเลือด “ABO” ในปีค.ศ. 1900 เป็นผลให้นักวิชาการชาวเยอรมัน ดร.ดันเกิร์น เริ่มทำการวิจัยตรวจสอบกลุ่มเลือดของคนและสัตว์ทั่วโลกในปีค.ศ. 1910 ซึ่งทำให้ทราบว่า คนส่วนใหญ่ในยุโรปมีกรุ๊ปเลือด A และ O ในขณะที่คนในเอเชียส่วนใหญ่มีกรุ๊ปเลือด B นอกจากนี้ ยังพบว่าสัตว์ส่วนใหญ่มีกรุ๊ปเลือด B ยกเว้นลิงชิมแปนซี จากผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่า “ชาวเอเชียด้อยกว่าชาวยุโรป” แพร่กระจายออกไป กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ งานวิจัยนี้มีแนวโน้มที่จะเชื่อมโยงกรุ๊ปเลือดเข้ากับนิสัยของกลุ่มคน เหมือนเป็นการแบ่งแยกประเภทคนตามพื้นที่ก็ว่าได้

ซึ่งจริงๆ แล้วในหลายประเทศ ได้ใช้ทฤษฎีต่างๆ ในการจำแนกคนออกเป็นหลายกลุ่ม โดยอาจใช้ความแตกต่างในเชื้อชาติหรือศาสนา แต่ในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้มีการแบ่งแยกชาติพันธุ์และศาสนาที่ชัดเจนแบบนั้น ศาสตราจารย์ยามาโอกะจึงวิเคราะห์ว่า ทฤษฎีการแบ่งประเภทบุคลิกภาพตามกรุ๊ปเลือดนี้มีขึ้นมาเพื่อที่จะทำความเข้าใจคนอื่นในสังคมตามความปรารถนาของคนญี่ปุ่นเอง
หลังจากเทปรายการนี้ออกอากาศ ก็มีความคิดเห็นของคนญี่ปุ่นมากมาย เช่น
“คงมีแต่คนญี่ปุ่นที่จำแนกนิสัยและบุคลิกภาพตามกรุ๊ปเลือด”
“ฉันรู้สึกประหลาดใจที่ชาวต่างชาติไม่รู้กรุ๊ปเลือดของพวกเขาเอง” และ
“นี่อาจจะถึงเวลาที่เราจะต้องหยุดเชื่อมโยงกรุ๊ปเลือดเข้ากับบุคลิกภาพของคนเสียที”
ทฤษฎีการทายนิสัยคนตามกรุ๊ปเลือดนั้น ประเทศไทยเราก็ได้รับอิทธิพลมาจากญี่ปุ่นไม่น้อยเลยนะคะ ถึงขั้นพิมพ์เป็นหนังสือออกมาเลยทีเดียว เรื่องของบุคลิกหรือนิสัยผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องปัจเจก ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างในหนึ่งครอบครัวอาจมีคนเลือดกรุ๊ปเดียวกันทั้งบ้าน แต่ก็ใช่ว่าจะมีนิสัยที่เหมือนกันหรือความชอบที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด ทั้งนี้ บุคลิกภาพของคนอาจจะเปลี่ยนได้ตามสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ด้วย การทำความเข้าใจว่าความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรอาจจะเป็นวิธีที่อยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีมากกว่า
ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com
ความเห็นถูกปิด