บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

162

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวด ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ

อันข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้, สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี,

ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิฯ

ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์ ว่า

เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,

หนึ่งคือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใด

หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต

เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อย่างหนึ่ง.

โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค, ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตฯ

สองคือ การทรมานตนด้วยความลําบาก ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่พ้นจากข้าศึกคือกิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ นี้อีกอย่างหนึ่ง

เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ, มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติ ซึ่งเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง นั้นเป็นไฉน ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค. เสยยะถีทังฯ

ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึก คือกิเลสนี้เอง. ได้แก่ธรรมเหล่านี้ กล่าวคือ

สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป, สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว, สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิฯ

ปัญญาอันเห็นชอบ ความดําริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ.

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง

จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

ทําดวงตา ทําญาณเครื่องรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจังฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลความเป็นจริง แห่งอริยสัจ คือ ทุกข์

ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง,

ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

โสกะปริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,

ความโศก ความร่ำไรรําพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์

อัปปิเยหิ สัมปโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง

ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook.com

ความเห็นถูกปิด