ประเพณีโล้ชิงช้าชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า จังหวัดเชียงราย

244

ประเพณีโล้ชิงช้าชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า จังหวัดเชียงราย

ประเพณีโล้ชิงช้า หรือ งานเทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้าของชาวอาข่า (อีก้อ) จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา “อึ่มซาแยะ” ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอเก็บเกี่ยว รำลึก และให้เกียรติสตรี พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ, การเลี้ยงฉลอง, การเต้นรำ ซึ่งแต่ละชุมชนจะไม่ตรงกัน เนื่องจากการกำหนดวันจัดพิธีกรรมต้องดูความเหมาะสมของวันที่จะเริ่มทำพิธี แต่จะต้องเป็นวันดี และเข้ากันได้กับผู้นำชุมชนนั้น ๆ

ประเพณีโล้ชิงช้าชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า จังหวัดเชียงราย

ประเพณีโล้ชิงช้า หรืออ่าข่าเรียกว่า “แย้ขู่อ่าเผ่ว” มีต้นกำเนิดมาจาดินแดนที่มีชื่อว่า “จาแดลอง” คือ พื้นที่ในประเทศจีนในปัจจุบัน มีการกล่าวไว้ว่า ดินแดนจาแดลองจะมีการจัดประเพณีโล้ชิงช้าเป็นเวลา 33 วัน เมื่อเป็นเช่นนี้คนในดินแดนแห่งนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนจน คนรวย จะต้องเตรียมเสบียงอาหารเอาไว้ เพื่อใช้ในการฉลองในวันประเพณี

ประเพณีโล้ชิงช้าชาวไทยภูเขาเผาอาข่า จังหวัดเชียงราย

ประเพณีโล้ชิงช้า ถือว่า เป็นการให้ความสำคัญกับผู้หญิง ฉะนั้น ผู้หญิงอาข่ามีการแต่งกายด้วยเครื่องทรงต่างๆ อย่างสวยงามที่เตรีนมเอาไว้ตลอดทั้งปีมาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในเทศกาลนี้ สำหรับหญิงอาข่าจะแต่งกายเพื่อยกระดับชั้นวัยสาวตามขั้นตอน แสดงให้คนในชุมชนได้เห็นพร้อมทั้งขึ้นโล้ชิงช้า แล้วต้องร้องเพลงทั้งลักษณะคู่และเดี่ยวอีกด้วย

ที่มา : https://travel.mthai.com/blog/97773.html
ขอบคุณข้อมูล และภาพจาก http://suvarnabhumiairport.com/th/festivals/21/ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า

ความเห็นถูกปิด