เปิด “ตำนานทะเลหลวง สู่ ทุ่งกุลาร้องไห้” เผยที่มาของชื่อ “กุลาร้องไห้” ตอนที่ 3
(โปรดอ่านต่อจากตอนที่ 1 และตอนที่ 2 )
เมื่อหนีมาได้ ท้าวทอนและนางแสนสีก็เดินทางกลับไปยังเมืองจำปากนาคบุรี แต่ก็กลับมาพบแต่เมืองร้างที่ไร้ผู้คน เนื่องจากประชาชนกลัวนกอินทรีย์จึงพากันย้ายหนีออกไป ส่วนพญานาคก็ได้ดำดินหนีไปอยู่ที่ดินแดนที่ไกลออกไปจากเขตแม่น้ำโขง ฝ่ายพญาพรหมทัตกับนางจันทราเทวีก็ตรอมใจตายด้วยความคิดถึงลูก เมื่อท้าวทอนและนางแสนสีสามารถรวบรวมไพร่พล และประชาชนที่เหลืออยู่ได้กลุ่มหนึ่ง ก็พากันบูรณะสร้างเมืองจำปากนาคบุรีขึ้นมาใหม่ และร่วมกันสร้างพระธาตุพันขันขึ้น เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้กับบิดาและมารดา รวมถึงเพื่อไถ่บาปให้กับตนเองด้วย ต่อจากนั้น ทั้งสองก็ได้อยู่ร่วมกันและครองเมืองอย่างมีความสุขจนสิ้นชีวิต
สาเหตุที่ทุ่งนี้มีชื่อว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” เป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อ ๆ กันมาแสนนาน และเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง ๆ บนสถานที่แห่งนี้ มีเรื่องเล่ากันมาว่า ชนเผ่ากุลา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศมอญ (ปัจจุบันประเทศมอญได้ถูกพม่ายึดไป) กุลากลุ่มนี้มีอาชีพค้าขายระหว่างเมือง นำสินค้าประเภทสีย้อมผ้า เครื่องทองเหลืองต่างๆ กุลาได้เดินทางค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบผู้คน ไม่พบหมู่บ้าน ไม่พบแหล่งน้ำ ไม่มีต้นไม้ให้ร่มเงา มีแต่หญ้าขึ้นสูงเต็มไปหมด ส่วนดินก็เป็นดินทราย ยากลำบากแก่การเดินทาง เหมือนเดินทางอยู่กลางทะเลทราย จะขอความช่วยเหลือจากใครก็ไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้ขอความช่วยเหลือ มีแต่แดด ต้นหญ้า และดินปนทราย ถึงเวลาค่ำคืน ทั้งหิว ทั้งเหนื่อยสายตัวแทบขาด ร่างกายขาดน้ำทำท่าจะตายเอา ทั้งหมดจึงได้แต่นอนร้องไห้ จนมีชาวพื้นเมืองผ่านมาพบเข้า จึงช่วยเหลือหาบหามกันไปพยาบาลในหมู่บ้าน ผู้รอดตายจึงเล่าเหตุการณ์ก่อนที่จะได้รับความช่วยเหลือว่า เอาแต่นอนไห้เพียงอย่างเดียว ชาวบ้านจึงตั้งชื่อทุ่งนี้ว่า ทุ่งกุลาร้องไห้
ที่มาจาก : เพจ ตำนานและเรื่องลี้ลับ
ที่มาจาก : tnews.co.th/religion/เรื่องเล่าโบราณ-ตำนานอาถรรพ์!!-เปิด-ตำนานทะเลหลวง-สู่-ทุ่งกุลาร้องไห้-เผยที่มาของชื่อ-กุลาร้องไห้-น้อยคนที่จะรู้
ความเห็นถูกปิด