เรื่องเล่า มะลิสีแดง : นิทานชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่สวนผึ้ง ตอนที่ 1
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://rb-history.blogspot.com/2018/05/blog-post.html)
ผู้เขียนได้ไปพบหนังสือเก่าของบิดา (นายสละ จันทรวงศ์) เล่มหนึ่ง ชื่อว่า “นิทานชาวเขาเผากะเหรี่ยง” มีนิทานเขียนไว้ จำนวน 17 เรื่อง รวบรวบโดย วิจิตร ขุมทรัพย์ จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย สำนักพิมพ์ธรรมบรรณาคาร พระนคร เมื่อปี พ.ศ.2514 ราคาเล่มละ 14 บาท มีนิทานอยู่หลายเรื่องเกี่ยวข้องกับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงแถบ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เช่น เรื่อง มะลิสีแดง นี้ ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำมาเขียนไว้ในบล็อกนี้ ตามเนื้อหาเดิม โดยไม่ได้ตัดต่อใดๆ ดังนี้
มะลิสีแดง
ที่มาของเรื่องคือ….บ้าน “บางคะยู” ชายแดนพม่า ติดกับทิศตะวันตกของ ต.สวนผึ้ง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
ในบรรดาชาวเขาเผ่าต่างๆ นั้น เผ่าซึ่งได้รับการยกย่องอย่างสูงว่าเป็นเผ่าที่ทำการล่าสัตว์ได้อย่างเก่งฉกาจ คือ เผ่ามูเซอ และเผ่ากะเหรี่ยง สองเผ่านี้ยึดเอาอาชีพล่าสัตว์เป็นอาชีพสำคัญยิ่งของชีวิต
ณ หมู่บ้าน “บางคะยู” ชายแดนพม่าอุดมไปด้วยสัตว์ป่า ทั้งดุร้ายและไม่ดุ ผู้ชายชาวกะเหรี่ยงส่วนมากยึดเอาอาชีพล่าสัตว์ ส่วนผู้หญิงทำไร่ ยังมีตระกูลหนึ่งมีความดีประจำตระกูลสืบมา ความดีนั้น คือ ไม่นิยมการล่าสัตว์ตัดชีวิต ยึดอาชีพทำไร่หาของป่าขายเป็นอาชีพ
ครั้งหนึ่งลูกสาวสวยของหัวหน้าหมู่บ้าน เกิดป่วยเป็นไข้ป่าอย่างแรง หมอประจำหมู่บ้านรักษาจนหมดความสามารถก็ไม่หาย มีแต่ทรุดลงทุกขณะ หัวหน้าหมู่บ้านซึ่งชื่อ “เอิ่ง” จึงประกาศว่า หากผู้ใดรักษานางอ่อง ลูกสาวแกหายจากอาการป่วยไข้ได้แล้ว แกยินดียก “นางอ่อง” ให้เป็นภรรยา ข่าวนี้กระจายไปทั้งแคว้นกะเหรี่ยง บรรดาหมอมีชื่อจากหมู่บ้านต่างๆ หวังจะได้ลูกสาวสวยของหัวหน้าหมู่บ้านผู้ร่ำรวยเป็นภรรยาก็พาเดินทางมารักษา แต่ก็หามีใครเก่งกาจรักษาอาการป่วยของสาวสวยให้หายได้ไม่
ยังมีเจ้าหนุ่มหนึ่ง เป็นทุกข์เป็นร้อนในอาการป่วยของสาวสวยอ่องยิ่งนัก เจ้าหนุ่มผู้นี้ชื่อ “อั้ง” ซึ่งสืบตระกูลผู้ไม่นิยมการล่าสัตว์ตัดชีวิตนั่นเอง เกรงว่านางอ่องที่ตนหลงรักจะตายจากไปเสีย เจ้าหนุ่มจึงไปยังขุนเขาผาแดง อันมี “จ้าวพ่อผาแดง” สิงสถิตอยู่ จ้าวพ่อผาแดงนี้ เป็นที่เคารพนับถือของชาวกะเหรี่ยง ทั้งแคว้น
ภาพจำลอง ประกอบบทความ
ที่มาของภาพ https://pantip.com/topic/31222817
เจ้าหนุ่มกะเหรี่ยงผู้ใจบุญ กลับให้คำมั่นสัญญาอย่างแน่นแฟ้นดังเดิม จ้าวพ่อผาแดงก็อวยพรให้เจ้าหนุ่มมีโชคชัย จากนั้นเจ้าหนุ่มผู้ใจบุญก็เตรียมตัวเดินทางอย่างรัดกุมพร้อมด้วยเสบียงอาหาร และหน้าไม้ อันปลายลูกศรอาบยาพิษ ซึ่งเรียกว่า “ยางน่อง” มีพิษร้ายแรงนัก แม้ช้างป่าถูกเข้าก็จะตายโดยเร็ว
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://rb-history.blogspot.com/2018/05/blog-post.html
ความเห็นถูกปิด