โศกกับธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อของไทย

108

โศกกับธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อของไทย

 

โศกเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกล่าวถึงบ่อยครั้งในวรรณคดีไทย ส่วนใหญ่ เป็นการกล่าวถึงความเศร้า โศกในการพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก เนื่องจากต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจ ต่างๆ จึงมักพบชื่อโศกใน วรรณคดีประเภทนิราศ ซึ่งบรรยายถึงความห่วงหาอาวรณ์ และเมื่อได้เห็นต้นโศกก็ยิ่งทำให้เศร้าหมอง ยิ่งขึ้น ดังที่พระมหานาคแห่งวัดท่าทราย ใน สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ประพันธ์ไว้

ต้นโศกที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด เฉพาะที่เป็นไม้พื้นเมือง ได้แก่ โศกน้ำ โศกเขาและโศกเหลือง แต่ที่พบมากทั่วไปทุกภาค คือ โศกน้ำ ซึ่งมักขึ้นตามริมน้ำ การเดิน ทางในนิราศต่างๆ มักเป็นการเดิน ทางตามลำน้ำ ดังนั้นโศกที่กล่าวถึงในวรรณคดีจึงน่าจะเป็นโศกน้ำ (Saraca indica Linn.) มากกว่าโศก ชนิดอื่น

โศกน้ำ หรือโศก เป็นไม้ต้นสูง ๑๐-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเรือนยอดกว้าง ใบดกทึบ ใบเป็นใ บประกอบแบบขนนก ยาว ๑๐-๑๘ ซม. มีใบย่อย ๒-๗ คู่ ใบอ่อนเป็น พวง หรือช่อห้อยย้อยลงตรงปลายกิ่ง สี เขียวอ่อนแกมขาวหรือมีสีม่วงอ่อนแซมเล็กน้อย

เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้มเป็นมัน ตัดกันกับใบ อ่อนสวยงามมาก ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๑๕ ซม. ออกดอกที่ปลาย กิ่ง มากกว่าตามลำต้น เริ่มแรกดอกมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มและสีแดงตามลำดับ ในแต่ละ ช่อจึงเห็นทั้งสามสีแซมสลับกันอย่างสวยงาม

ดอกโศกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มี รสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ฝักแบน ยาว ๑๐-๒๐ ซม. กว้าง ๒-๕ ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลและจะแตกในแต่ละฝักมีเมล็ด ๒-๓ เมล็ด

 

 

ความเห็นถูกปิด